โปรเจกต์ บลู สกาย ประเทศไทย
ในระยะเวลากว่าสิบปีที่ผ่านมา ฝุ่นควันเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน รวมทั้งทัศนวิสัยในการมองเห็นของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญทางภาคเหนือของประเทศไทย ไฟป่า ควันจากท่อไอเสีย และการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรก่อให้เกิดชั้นฝุ่นในบรรยากาศปกคลุมจังหวัดเป็นระยะเวลาหลายเดือนต่อปี ความร่วมมือกับชุมชนในครั้งนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้เรื่องคุณภาพอากาศให้เป็นที่สนใจยิ่งขึ้น
ภัยร้ายจากฝุ่นสู่ความป่วยไข้
มลพิษทางอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ส่วนหนึ่งมาจากการเผาพืชผลทางการเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเพาะปลูก รวมทั้งเกิดจากไฟป่า ด้วยภูมิประเทศที่เป็นหุบเขาซึ่งล้อมรอบจังหวัดเชียงใหม่กักกันฝุ่นและควันเอาไว้ ส่งผลให้ท้องฟ้าขมุกขมัว และทำให้ผู้คนเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพ
"ความร่วมมือ ณ ปัจจุบันนี้ยังไม่เพียงพอค่ะ เรายังต้อง ทำความเข้าใจ และยอบรับสถานการณ์บางอย่างค่ะ" สุรีรัตน์ ตรีมรรคา รองประธานคณะกรรมการอำนวยการ สภาลมหายใจเชียงใหม่
โครงการบลู สกายนำความเชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ที่เชื่อมต่อกับระบบคลาวด์ (AIoT) จากบ๊อช มาสนับสนุนองค์กรทางการศึกษา องค์กรอิสระ และชุมชนท้องถิ่น เพื่อต่อสู้กับปัญหามลพิษทางอากาศในชุมชน
ประชากรกว่า 3.1 ล้านคน
ประชากรชาวไทยกว่า 3.1 ล้านคนได้รับผลกระทบจากโรคหอบหืด มะเร็งปอด และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศในปีพ.ศ. 2563
การผสมผสานระหว่างโซลูชั่นทางเทคโนโลยีและธรรมชาติ
การผสมผสานเทคโนโลยีเซ็นเซอร์อัจฉริยะและโซลูชั่นจากธรรมชาติเข้าด้วยกัน ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจว่าพื้นที่สีเขียวสามารถทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้นได้อย่างไร ด้วยความร่วมมือจากสภาลมหายใจเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาสาสมัครที่ได้รับมอบพรรณไม้สู่ฝุ่นในชุมชน ทำให้เราสามารถตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นควันของชุมชนหมื่นสารแบบเรียลไทม์ด้วยเครื่องวัดคุณภาพอากาศจากบ๊อช และการติดตั้งเซ็นเซอร์ขนาดเล็ก
Bosch air quality monitoring box
บ๊อชได้ติดตั้ง Air quality monitoring box เพื่อตรวจวัดมลพิษทางอากาศโดยรวมของชมชุนหมื่นสาร จังหวัดเชียงใหม่ โดยครอบคลุมพื้นที่ 0.18 ตารางกิโลเมตร
Green Shield
บ้านสู้ฝุ่น คือแนวคิดการนำพรรณไม้สู้ฝุ่นหลากชนิดไปปลูกในบริเวณบ้านของอาสาสมัครในพื้นที่ต้นแบบ ซึ่งพรรณไม้เหล่านี้ได้รับการทดสอบแล้วว่ามีความสามารถในการดักจับฝุ่นขนาดเล็กในอากาศได้
DustBoy sensor dust detector
DustBoy คือเครื่องวัดคุณภาพอากาศที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ภายในซึ่งพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อุปกรณ์นี้ทำงานควบคู่กับ Air Quality Monitoring Box จากบ๊อชเพื่อตรวจวัดคุณภาพอากาศในครัวเรือนของอาสาสมัครโครงการบ้านสู่ฝุ่น เพื่อเปรียบเทียบระหว่างคุณภาพอากาศของชุมชนและภายในบ้านของอาสาสมัคร
ข้อมูลเพิ่มเติม: bluesky.cmuccdc.org
โครงการบ้านสู้ฝุ่น
โครงการบ้านสู้ฝุ่น โดยสภาลมหายใจเชียงใหม่ มีเจตนารมณ์ในการใช้โซลูชั่นจากธรรมชาติมาช่วยแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ พรรณไม้สู้ฝุ่นได้ถูกส่งมอบให้แก่อาสาสมัครเพื่อทำการวิจัยเรื่องความสามารถในการดักจับฝุ่นขนาดเล็ก
เคราฤาษี - ดักจับฝุ่นด้วยโครงสร้างที่มีขน
เฟิร์น - ดูดซับก๊าซพิษในอากาศ
ลิ้นมังกร - ดูดซับฝุ่นอนุภาคเล็กในอากาศ
ฟิโลเดนดรอน - ลดมลพิษในอากาศด้วยพื้นที่ใบขนาดใหญ่
พรรณไม้สู่ฝุ้นไดรับการทดสอบแล้วว่าสามารถดูดซับฝุ่นและสารพิษในอากาศได้ถึง 10% - 90%
*ผศ.ดร. ธรรมรัตน์ พุทธไทย และ น.ส.เพ็ญพิชชา พิมลเอกอักษร, คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, มกราคม 2562
อยากจะให้ลูกหลานของเราในอนาคตได้มีอากาศที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอายุที่ยืนยาวค่ะ
Air quality monitoring box
Air quality monitoring box ประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์ก๊าซและอนุภาคต่างๆ รวมไปถึงเซ็นเซอร์สำหรับตรวจวัดความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิ และความกดอากาศ ข้อมูลจะถูกรวบรวมไว้ในระบบฐานข้อมูลแบบคลาวด์ เพื่อวิเคราะห์และรายงานผลในรูปแบบแผนที่ ผู้ใช้งานจะสามารถเห็นภาพที่ชัดเจนและพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงอากาศในอนาคตได้
สิ่งที่ทำให้อุปกรณ์ของเราแตกต่าง
เซ็นเซอร์อัจฉริยะ:
เซ็นเซอร์จากบ๊อชมีประสิทธิภาพสูง และมีระยะเวลาในการใช้งานยาวนาน สามารถตรวจวัดข้อมูลมลพิษ PM2.5 PM10 NO2 O3 CO และ SO2
ดัชนีการตรวจวัด:
ดัชนีด้านสิ่งแวดล้อม: อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และความกดอากาศ
กะทัดรัดและทนทาน:
การออกแบบที่กะทัดรัดทำให้อุปกรณ์ทนต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน ฟังก์ชันแก้ไขอัจฉริยะทำให้มั่นใจได้ว่าระบบทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิและระดับความชื้น ซึ่งส่งผลให้อุปกรณ์ง่ายต่อการติดตั้งและทำงานในบริเวณทางเท้า
เสถียรภาพ:
ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นด้วยการสุ่มตัวอย่างของอากาศโดยรอบและการเก็บรวบรวมข้อมูลเวลาและพื้นที่อย่างละเอียดและเป็นปัจจุบัน
การเชื่อมต่อ:
สามารถควบคุมการทำงานได้จากระยะไกลโดยการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถืออย่างง่ายดาย
ความสามารถในการปรับขนาด:
มีความสามารถในการปรับขนาดของเครือข่ายสำหรับการตรวจสอบที่มีการใช้งานที่หลากหลาย ในพื้นที่การค้า ที่พักอาศัย หรือเขตอุตสาหกรรม
ยานยนต์แห่งความยั่งยืนเพื่อคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น
การจราจรเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของปัญหามลพิษในตัวเมือง เครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศ Air quality monitoring box จากบ๊อชสามารถแสดงระดับมลพิษที่เกิดจากการจราจร เพื่อกำหนดปริมาณการปล่อยก๊าซพิษ การแพร่กระจายในอนาคต และสร้างความเข้าใจถึงมลพิษในพื้นที่ต่างๆ แสดงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน บ๊อช ได้ยกระดับความเชี่ยวชาญด้านยานยนต์ของเราไปอีกขั้นด้วยการผสานข้อมูลคุณภาพอากาศเข้ากับการวางแผนการสัญจรอย่างยั่งยืน
จุดแข็งของเราสามารถสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับยานยนต์ได้ ในขณะที่รถยนต์ไฟฟ้าเริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บ๊อชได้เร่งพัฒนาโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพและประหยัด สำหรับยานพาหนะทั้งแบบสองล้อและสี่ล้อ และนี่คือวิธีที่เราจะนำท้องฟ้าสีฟ้ากลับมาให้คนรุ่นต่อไป