ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก
บ๊อช ประเทศไทย
เทคโนโลยีจากบ๊อชเพื่อความเข้าใจในคุณภาพอากาศที่ดียิ่งขึ้น

โปรเจกต์ บลู สกาย ประเทศไทย

Smog over Chiang Mai

ในระยะเวลากว่าสิบปีที่ผ่านมา ฝุ่นควันเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน รวมทั้งทัศนวิสัยในการมองเห็นของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญทางภาคเหนือของประเทศไทย ไฟป่า ควันจากท่อไอเสีย และการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรก่อให้เกิดชั้นฝุ่นในบรรยากาศปกคลุมจังหวัดเป็นระยะเวลาหลายเดือนต่อปี ความร่วมมือกับชุมชนในครั้งนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้เรื่องคุณภาพอากาศให้เป็นที่สนใจยิ่งขึ้น

ภัยร้ายจากฝุ่นสู่ความป่วยไข้

Thai woman potting plants.

มลพิษทางอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ส่วนหนึ่งมาจากการเผาพืชผลทางการเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเพาะปลูก รวมทั้งเกิดจากไฟป่า ด้วยภูมิประเทศที่เป็นหุบเขาซึ่งล้อมรอบจังหวัดเชียงใหม่กักกันฝุ่นและควันเอาไว้ ส่งผลให้ท้องฟ้าขมุกขมัว และทำให้ผู้คนเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพ

"ความร่วมมือ ณ ปัจจุบันนี้ยังไม่เพียงพอค่ะ เรายังต้อง ทำความเข้าใจ และยอบรับสถานการณ์บางอย่างค่ะ" สุรีรัตน์ ตรีมรรคา รองประธานคณะกรรมการอำนวยการ สภาลมหายใจเชียงใหม่

โครงการบลู สกายนำความเชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ที่เชื่อมต่อกับระบบคลาวด์ (AIoT) จากบ๊อช มาสนับสนุนองค์กรทางการศึกษา องค์กรอิสระ และชุมชนท้องถิ่น เพื่อต่อสู้กับปัญหามลพิษทางอากาศในชุมชน

ประชากรกว่า 3.1 ล้านคน

ประชากรชาวไทยกว่า 3.1 ล้านคนได้รับผลกระทบจากโรคหอบหืด มะเร็งปอด และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศในปีพ.ศ. 2563

การผสมผสานระหว่างโซลูชั่นทางเทคโนโลยีและธรรมชาติ

การผสมผสานเทคโนโลยีเซ็นเซอร์อัจฉริยะและโซลูชั่นจากธรรมชาติเข้าด้วยกัน ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจว่าพื้นที่สีเขียวสามารถทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้นได้อย่างไร ด้วยความร่วมมือจากสภาลมหายใจเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาสาสมัครที่ได้รับมอบพรรณไม้สู่ฝุ่นในชุมชน ทำให้เราสามารถตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นควันของชุมชนหมื่นสารแบบเรียลไทม์ด้วยเครื่องวัดคุณภาพอากาศจากบ๊อช และการติดตั้งเซ็นเซอร์ขนาดเล็ก

Bosch air quality monitoring box

บ๊อชได้ติดตั้ง Air quality monitoring box เพื่อตรวจวัดมลพิษทางอากาศโดยรวมของชมชุนหมื่นสาร จังหวัดเชียงใหม่ โดยครอบคลุมพื้นที่ 0.18 ตารางกิโลเมตร

Green Shield

บ้านสู้ฝุ่น คือแนวคิดการนำพรรณไม้สู้ฝุ่นหลากชนิดไปปลูกในบริเวณบ้านของอาสาสมัครในพื้นที่ต้นแบบ ซึ่งพรรณไม้เหล่านี้ได้รับการทดสอบแล้วว่ามีความสามารถในการดักจับฝุ่นขนาดเล็กในอากาศได้

DustBoy sensor dust detector

DustBoy คือเครื่องวัดคุณภาพอากาศที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ภายในซึ่งพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อุปกรณ์นี้ทำงานควบคู่กับ Air Quality Monitoring Box จากบ๊อชเพื่อตรวจวัดคุณภาพอากาศในครัวเรือนของอาสาสมัครโครงการบ้านสู่ฝุ่น เพื่อเปรียบเทียบระหว่างคุณภาพอากาศของชุมชนและภายในบ้านของอาสาสมัคร

ข้อมูลเพิ่มเติม: bluesky.cmuccdc.org

โครงการบ้านสู้ฝุ่น

โครงการบ้านสู้ฝุ่น โดยสภาลมหายใจเชียงใหม่ มีเจตนารมณ์ในการใช้โซลูชั่นจากธรรมชาติมาช่วยแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ พรรณไม้สู้ฝุ่นได้ถูกส่งมอบให้แก่อาสาสมัครเพื่อทำการวิจัยเรื่องความสามารถในการดักจับฝุ่นขนาดเล็ก

เคราฤาษี - ดักจับฝุ่นด้วยโครงสร้างที่มีขน

เฟิร์น - ดูดซับก๊าซพิษในอากาศ

ลิ้นมังกร - ดูดซับฝุ่นอนุภาคเล็กในอากาศ

ฟิโลเดนดรอน - ลดมลพิษในอากาศด้วยพื้นที่ใบขนาดใหญ่

พรรณไม้สู่ฝุ้นไดรับการทดสอบแล้วว่าสามารถดูดซับฝุ่นและสารพิษในอากาศได้ถึง 10% - 90%

*ผศ.ดร. ธรรมรัตน์ พุทธไทย และ น.ส.เพ็ญพิชชา พิมลเอกอักษร, คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, มกราคม 2562

Plants hanging from the roof.
scientist

อยากจะให้ลูกหลานของเราในอนาคตได้มีอากาศที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอายุที่ยืนยาวค่ะ

รศ.ดร. สมพร จันทระ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Air quality monitoring box

Air quality monitoring box ประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์ก๊าซและอนุภาคต่างๆ รวมไปถึงเซ็นเซอร์สำหรับตรวจวัดความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิ และความกดอากาศ ข้อมูลจะถูกรวบรวมไว้ในระบบฐานข้อมูลแบบคลาวด์ เพื่อวิเคราะห์และรายงานผลในรูปแบบแผนที่ ผู้ใช้งานจะสามารถเห็นภาพที่ชัดเจนและพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงอากาศในอนาคตได้

Bosch air quality monitoring box mounted on a lamp post.

สิ่งที่ทำให้อุปกรณ์ของเราแตกต่าง

เซ็นเซอร์อัจฉริยะ:

เซ็นเซอร์จากบ๊อชมีประสิทธิภาพสูง และมีระยะเวลาในการใช้งานยาวนาน สามารถตรวจวัดข้อมูลมลพิษ PM2.5 PM10 NO2 O3 CO และ SO2

ดัชนีการตรวจวัด:

ดัชนีด้านสิ่งแวดล้อม: อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และความกดอากาศ

กะทัดรัดและทนทาน:

การออกแบบที่กะทัดรัดทำให้อุปกรณ์ทนต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน ฟังก์ชันแก้ไขอัจฉริยะทำให้มั่นใจได้ว่าระบบทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิและระดับความชื้น ซึ่งส่งผลให้อุปกรณ์ง่ายต่อการติดตั้งและทำงานในบริเวณทางเท้า

เสถียรภาพ:

ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นด้วยการสุ่มตัวอย่างของอากาศโดยรอบและการเก็บรวบรวมข้อมูลเวลาและพื้นที่อย่างละเอียดและเป็นปัจจุบัน

การเชื่อมต่อ:

สามารถควบคุมการทำงานได้จากระยะไกลโดยการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถืออย่างง่ายดาย

ความสามารถในการปรับขนาด:

มีความสามารถในการปรับขนาดของเครือข่ายสำหรับการตรวจสอบที่มีการใช้งานที่หลากหลาย ในพื้นที่การค้า ที่พักอาศัย หรือเขตอุตสาหกรรม

ยานยนต์แห่งความยั่งยืนเพื่อคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น

การจราจรเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของปัญหามลพิษในตัวเมือง เครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศ Air quality monitoring box จากบ๊อชสามารถแสดงระดับมลพิษที่เกิดจากการจราจร เพื่อกำหนดปริมาณการปล่อยก๊าซพิษ การแพร่กระจายในอนาคต และสร้างความเข้าใจถึงมลพิษในพื้นที่ต่างๆ แสดงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน บ๊อช ได้ยกระดับความเชี่ยวชาญด้านยานยนต์ของเราไปอีกขั้นด้วยการผสานข้อมูลคุณภาพอากาศเข้ากับการวางแผนการสัญจรอย่างยั่งยืน

จุดแข็งของเราสามารถสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับยานยนต์ได้ ในขณะที่รถยนต์ไฟฟ้าเริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บ๊อชได้เร่งพัฒนาโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพและประหยัด สำหรับยานพาหนะทั้งแบบสองล้อและสี่ล้อ และนี่คือวิธีที่เราจะนำท้องฟ้าสีฟ้ากลับมาให้คนรุ่นต่อไป

Eco-friendly car

อากาศบริสุทธิ์เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ลงทะเบียนเพื่อติดต่อสอบถาม

Our partners

partner-logos