รถยนต์และอื่นๆ พ.ศ. 2469 – 2488
บ๊อชได้พยายามรับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและคำสั่งของพรรคนาซีด้วยความแข็งแกร่งด้านนวัตกรรมอย่างประนีประนอมและอดทนจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองได้ก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ที่ท้าท้ายต่อไปอีก
ปั๊มหัวฉีดเชื้อเพลิงดีเซล — กลไกขับเคลื่อนที่สอง
หลังจากคิดค้นมานานหลายปี นวัตกรรมปั๊มหัวฉีดเชื้อเพลิงดีเซลก็อุบัติขึ้นในปี พ. ศ. 2470 ซึ่งการใช้งานก็ยังมีให้เห็นอยู่จนทุกวันนี้ ถือเป็นการพัฒนาต่อยอดเครื่องยนต์ดีเซลของบ๊อชซึ่งต่างจากเครื่องยนต์เบนซินตรงที่ไม่ต้องจุดระเบิดแบบแมกนีโต ช่วงเริ่มต้น ปั๊มหัวฉีดเชื้อเพลิงดีเซลใช้กับรถบรรทุกเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ. ศ. 2479 จึงสามารถใช้ได้กับรถยนต์ทั่วไป
เพิ่มความหลากหลายให้มากขึ้น — สายธุรกิจใหม่ ๆ
วิกฤตการณ์ที่สำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ของเยอรมนีได้ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์อย่างบ๊อชต้องทบทวนภาพรวมของผลิตภัณฑ์ใหม่ตั้งแต่ปี 2469 เป็นต้นมา เรื่องนี้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการผสมผสานระหว่างกลยุทธ์ที่พิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จในอดีตกับการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และพัฒนาไปสู่ขั้นตอนการผลิตแบบเป็นชุดเช่นเดียวกับเครื่องมือช่างและเทคโนโลยีความร้อนตามด้วยความพยายามคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ เช่น เทคโนโลยีวิทยุและโทรทัศน์
เครื่องมือช่าง
เครื่องเล็มผมและสว่านเจาะกระแทก
Hermann Steinhart วิศวกรของบ๊อชได้พบกับอุปกรณ์หนึ่งในห้องปฏิบัติการทดสอบของเขาในปี พ. ศ. 2470 และเกิดความรู้สึกทึ่งในทันที "Forfex" มีมอเตอร์ที่รวมอยู่ในด้ามจับ สิ่งนี้ได้เปิดโอกาสใหม่ ๆ จำนวนมาก แผนกของ Steinhart ได้เริ่มนำ Forfex เข้าสู่ระยะการผลิตเป็นชุดก่อนการพัฒนาแนวคิดมาตลอดหลายปีต่อมาเพื่อผลิตสว่านเจาะกระแทกตัวแรก ทีมงานใช้ระบบช่วยผลิตในโรงงานของบ๊อชเป็นระบบช่วยทดสอบ
รูปถ่าย: สว่านเจาะกระแทกของบ๊อชในระหว่างการใช้งาน (2479)
พันธมิตรสู่ความเป็นเลิศ — การผลิตร่วมกับคู่ค้าที่แข็งแกร่ง
เกือบสิบปีหลังจากสิ้นสุดสงคราม ยอดขายในต่างประเทศเริ่มกระเตื้องกลับมาที่ร้อยละ 34 จากยอดรวม ต้นทุนค่าขนส่งและกำแพงภาษีที่สูงทำให้บ๊อชต้องมองหาทางเลือกใหม่ๆ โดยเริ่มค้นหาคู่ค้าเพื่อการผลิตในต่างประเทศ ทั้งในฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และอิตาลี ทั้งนี้ บริษัทพันธมิตรในออสเตรเลียและญี่ปุ่นเริ่มสายการผลิตภายใต้ลิขสิทธิ์ของบ๊อช ทำให้ในปี พ. ศ. 2475 บ๊อชมียอดขายในต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 55
FESE
เทคโนโลยีบุกเบิก
บ๊อชได้ก่อตั้ง Fernseh AG (FESE) ในปี 2472 ร่วมกับ John Logie Baird ผู้บุกเบิกด้านโทรทัศน์ชาวสก็อตและคณะของ Zeiss Ikon and Loewe จากการวิจัยมาหลายปี ในท่ีสุดก็ส่งผลให้เกิดความสำเร็จสำคัญๆ ในระยะเริ่มแรก FESE ได้ผลิตอุปกรณ์บันทึกด้วยอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกสำหรับโอลิมปิกเกมในเบอร์ลิน ปี 2479 และในปีเดียวกันนั้น ได้นำ้เสนอ "เครื่องรับโทรทัศน์ในบ้าน" เป็นเครื่องแรก ในช่วงสงครา่ม FESE ถูกสั่งการเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหารให้ช่วยพัฒนาระเบิดร่วมกับกล้องติดตั้งภายในซึ่งสามารถควบคุมจากระยะไกลได้โดยผ่านภาพโทรทัศน์ เมื่อสิ้นสุดสงคราม ได้มีการระงับโครงการซึ่งอยู่ในระยะทดสอบ
รูปถ่าย: เครื่องรับโทรทัศน์ในบ้าน FESE (2481)
หัวฉีดเชื้อเพลิงเบนซินสำหรับอากาศยาน และเทคโนโลยีโทรทัศน์
เมื่อพรรคนาซีเข้ายึดอำนาจ ทำให้บ๊อชต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ ฝ่ายปกครองได้สั่งการให้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหัวฉีดเชื้อเพลิงเบนซินสำหรับอากาศยานและได้เริ่มก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีโทรทัศน์ได้กลายเป็นจุดสนใจเพื่อผลประโยชน์ของกองทัพ ยอดขายในต่างประเทศของบริษัทแตะจุดต่ำสุดที่ร้อยละเก้าในปี พ. ศ. 2482
อาวุธยุทโธปกรณ์และการบังคับใช้แรงงาน
ในช่วงเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่สอง บ๊อชต้องเปลี่ยนมาเป็นการผลิตเพื่อกองทัพอีกครั้ง กองทัพมีความต้องการเครื่องยนต์อย่างมากจนถึงจุดที่ว่า กิจการยานนต์ของบริษัทได้รับอนุญาตให้ดำเนินต่อไปได้ เช่นเดียวกับกรณีที่เกิดขึ้นกับโรงงานทั่วเยอรมนี พนักงานถูกเรียกตัวไปเป็นทหารและมีแรงงานที่ถูกบังคับเข้ามาแทนที่จากเขตอาณานิคมโดยบางคนถูกบังคับให้กินนอนและทำงานอยู่ในสภาพที่ไร้มนุษยธรรม
การต่อต้านและการปกป้องชาวยิว
ในอีกแง่มุมหนึ่ง การบริหารจัดการบริษัทของบ๊อชถือเป็นการสนับสนุนฝ่ายต่อต้านระบอบสังคมนิยมแห่งชาติอย่างชัดเจน โดยมีผู้นำคือ คาร์ล ฟรีดิช เกอร์เดอเลอร์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของบริษัท ชาวยิวที่ถูกตามรังควานได้รับการจ้างงานเพื่อช่วยพวกเขาจากการถูกเนรเทศไปที่ค่ายกักกันหรือได้รับการช่วยเหลือทางการเงินเพื่อช่วยในการอพยพ
จุดสิ้นสุด
ในช่วงสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทิ้งระเบิดใส่โรงงานผลิตของบ๊อชหลายแห่งอย่างต่อเนื่อง โรเบิร์ต บ๊อชไม่ได้มีชีวิตอยู่ทันเห็นโรงงานของเขาพังทลายราบคาบเนื่องจากเขาเสียชีวิตลงในปี พ. ศ. 2485 เขาได้สั่งเสียไว้กับทายาทอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินกิจการโรงงานที่ให้ตั้งชื่อตามเขา