ช่วงฟื้นฟู พ.ศ. 2489 – 2502
เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง อาคารโรงงานในต่างประเทศของบ๊อชพังเสียหายเป็นครั้งที่สอง อาคารโรงงานส่วนใหญ่ของบ๊อชถูกทำลาย ต้องใช้เวลาช่วงสองทศวรรษต่อมาในการก่อสร้างอาคารโรงงานใหม่ตลอดจนเสริมกำลังด้วยสายธุรกิจใหม่ ๆ
การก่อสร้างใหม่ของบ๊อช — ทุุ่มกำลังและแรงกาย
ในช่วงปี 2488 อาคารโรงงานของบ๊อชกว่าร้อยละ 50 .ในเยอรมนีถูกทำลายจากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร บ๊อชถูกกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ให้มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ผลิตยานพาหนะที่ใช้ในกองทัพช่วงสงคราม ตอนนี้ ได้เวลาที่บ๊อชต้องสะสาง ก่อสร้างและสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ สำหรับพนักงาน
หัวเทียนกับกระทะ — ทางรอดยุคหลังสงคราม
เพื่อให้สามารถจ้างพนักงานได้อีกครั้งและมีเงินจ่ายค่าแรง บ๊อชกลับมายืนได้อีกครั้งโดยการผลิตตั้งแต่หม้อปรุงอาหารที่ทำจากหมวกนิรภัยจากเหล็กกล้า รถเข็นขนาดเล็ก รวมถึงร่ม ในซากปรักหักพังของโรงงาน พนักงานจะนำเครื่องใช้เหล่านี้ไปใช้เอง หรือไม่ก็แลกเปลี่ยนกับของใช้จำเป็น ผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่เริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้นก็คือ หัวเทียนสำหรับยานพาหนะที่ใช้ในกองทัพสัมพันธมิตร
ทายาทจัดการมรดกตามพินัยกรรมของโรเบิร์ต บ๊อชและประธานคณะกรรมการบริหาร
โรเบิร์ต บ๊อชถึงแก่กรรมในปี 2485 ทายาทผู้จัดการทรัพย์สินตามมรดกได้สร้างบริษัทขึ้นใหม่ตามความต้องการและพินัยกรรมของบ๊อชหลังปี 2488 เป้าหมายก็คือการก่อให้เกิดรายได้แต่ก็มีเปิดช่องทางให้มีการแบ่งรายได้ที่เหลือบางส่วนไปช่วยเหลือสังคมด้วย Hans Walz ดำเนินกิจการของบริษัทในฐานะทายาทของผู้ก่อตั้งจนถึงปี 2506
การดำเนินการเพื่อต่อต้านการผูกขาด — ความกลัวที่จะสูญเสียทุกสิ่ง
ความกระหายที่จะเป็นมหาอำนาจของโลกของพรรคสังคมนิยมแห่งชาติบรรลุเป้าหมายเพียงแค่ช่วยผลักดันให้เกิดบริษัทที่แข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงพยายามที่จะแบ่งแยกเยอรมันซึ่งเป็นองค์กรใหญ่รวมถึงบ๊อชด้วย อย่างไรก็ตาม บริษัทก็มีโครงสร้างที่เติบโตแบบองค์รวมซึ่งหมายความว่าไม่มีส่วนใดที่อยู่รอดได้เอง ท้ายที่สุด บริษัทบ๊อชก็ยังสมบูรณ์แทบทั้งหมดแม้ว่าจะต้องเปิดเผยสิทธิบัตรให้คู่แข่งทั้งหมดใช้งานก็ตาม
“ผลิตจากทั่วทุกมุมโลก" — เส้นทางสู่การเป็นบริษัทข้ามชาติ
ก่อนที่ฮิตเลอร์จะเข้ายึดอำนาจ ยอดขายมากกว่าร้อยละ 50 ของบ๊อชมาจากธุรกิจระหว่างประเทศ แต่หลังจาก ปี พ. ศ. 2488 ยอดขายจากต่างประเทศแทบจะกลายเป็นศูนย์ และทรัพย์สินของบริษัทในต่างประเทศต้องถูกยึด แต่ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีกับพันธมิตรที่ยาวนานและตลาดที่เติบโตเร็วในประเทศต่างๆ เช่น บราซิลและอินเดีย การสร้างเครือข่ายทั่วโลกจึงค่อยๆ ดำเนินไปได้ เช่นเดียวกันกับยอดขายในต่างประเทศทั้งหมดของบ๊อช ที่ต้องรอจนถึงปี พ. ศ. 2503 ที่กลับมาเติบโตเกินร้อยละ 20 อีกครั้ง
สง่างามในความสมบูรณ์แบบ — เทคโนโลยีเพื่อผู้บริโภค
ในช่วงระหว่างต้นปี พ. ศ. 2493 บ๊อชนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดซึ่งสะท้อนถึงปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจในเยอรมนีและยุโรป ที่ได้ตอบสนองผู้บริโภคราวกับช่วงเวลาที่ยากลำบากได้ปิดฉากลงแล้ว ตัวอย่างเช่น เครื่องใช้ในครัว สว่านไฟฟ้าสำหรับผู้ชื่นชอบงานสร้างสรรค์ด้วยตัวเอง ผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก เช่น วิทยุในรถ ที่ขายได้หลักล้านเครื่อง
เครื่องครัวบ๊อช
“ปรากฏการณ์ใหม่" ในห้องครัว
เครื่องเตรียมอาหารของบ๊อชได้สร้างปรากฏการณ์สองสิ่งในช่วงที่วางตลาด ชื่อรุ่น "Neuzeit" ได้รับขนานนามว่า "ผู้ช่วยของคุณผู้หญิง" ลูกค้าในสังคมเมืองได้พบกับยุคใหม่แห่งเทคโนโลยีเครื่องใช้ในบ้านที่ช่วยให้งานบ้านเป็นเรื่องง่าย
สิ่งที่ดึงดูดครัวเรือนในชนบทคือการมีเครื่องที่สามารถช่วยเตรียมอาหารในปริมาณมากได้ ด้วยเหตุผลของ ความหนาแน่นของครัวเรือนขนาดใหญ่ มีลูกหลายคน อีกเหตุผลก็คือ ความต้องการเตรียมผักผลไม้ด้วยความรวดเร็วเพื่อถนอมไว้ภายหลัง เช่น การแช่แข็งผลผลิตเพื่อทำแยมและผลไม้แช่อิ่ม
"Neuzeit" เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้หลายอย่างทั้ง หั่น สับ นวดแป้ง บด รีดหรือแม้แต่ปอกมันฝรั่ง
รูป: ภาพเหตุการณ์ขายเครื่องเตรียมอาหารในร้านค้าที่ชตุทการ์ท (พ. ศ. 2505)
รูป: ภาพเหตุการณ์ขายเครื่องเตรียมอาหารในร้านค้าในชตุทท์การ์ท (2505)
การกลับมาของผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย — ระบบฉีดเชื้อเพลิงเบนซินในรถยนต์
เทคโนโลยีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ของบ๊อชมีรากฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลก นวัตกรรมจึงเป็นส่วนสำคัญในการเสริมศักยภาพการแข่งขันให้กับสินค้า ระบบฉีดเชื้อเพลิงที่บ๊อชได้พัฒนาสำหรับเครื่องยนต์อากาศยานถือเป็นนวัตกรรมสำหรับยานยนต์ช่วงระหว่างต้นปี พ. ศ. 2493 แม้ว่าจะใช้เวลาหลายทศวรรษในการผลักดันให้อุตสาหกรรมนำมาใช้เป็นมาตรฐานการผลิต
บ๊อช คอมบิ
เครื่องมือช่างในครัวเรือน
ความชื่นชอบดีไอวายเป็นธุรกิจที่สดใสสำหรับบ๊อช เครื่องมือไฟฟ้า "บ๊อช คอมบิ" ซึ่งออกมาในปี พ. ศ. 2495 สามารถใช้งานได้หลากหลาย เช่น สว่าน ไขควง เครื่องขัดทราย หรือแม้แต่เครื่องตัดไม้พุ่ม สิ่งนี้ทำให้เกิดกลุ่มธุรกิจใหม่ในยุโรปซึ่งผู้ชื้อคือผู้ชายเป็นหลัก สำหรับ "งานดีไอวาย" ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในห้องใต้ดินหรือโรงรถ
ชุดเครื่องมือครบชุดที่มีส่วนประกอบมาตรฐานหาซื้อได้ตามร้านค้าที่วางโชว์ในกล่องหรือตู้ไม้ติดผนัง นับเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่บ๊อชได้พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับตลาดทั่วไปรองจากตลาดมืออาชีพเฉพาะกลุ่ม เพื่อเติมเต็มความหลากหลายสำหรับงานก่อสร้าง เช่น สว่านเจาะ เป็นต้น
รูป: "บ๊อช คอมบิ" สำหรับงานดีไอวาย - มาพร้อมกับกล่องพกพาที่ใช้งานง่าย (2495)
ระบบอิเล็กทรอนิกส์ — สายธุรกิจและผลลัพธ์
บ๊อชเริ่มพัฒนาส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ช่วงกลางปี พ. ศ. 2493 หนึ่งในนั้นคือ “ตัวนำไฟฟ้า" ซึ่งบ๊อชเริ่มผลิตปี พ. ศ. 2501 ตามด้วยทรานซิสเตอร์และวงจรรวมตั้งแต่ปี พ. ศ. 2513 ท่ามกลางข้อสงสัย และคำวิพากษ์วิจารณ์ ทีมสนับสนุนก็ยังมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนา พวกเขาได้เริ่มบุกเบิกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นี้ขึ้นมา และในตอนนี้ได้กลายเป็นธุรกิจหลักของบ๊อชไปแล้ว